วิเคราะห์เครื่องสำอางค์


Re: สอบภามก่อนสั่งชื้อค่ะ

วิเคราะห์เครื่องสำอางค์แบรนด์ดัง โดยดูจากส่วนประกอบ ว่าดีไม่ดีอย่างไร สารตัวไหนอาจทำให้แพ้ สารตัวไหนอาจทำให้ระคายเคือง ตัวไหนอาจอุดตันรูขุมขนทำให้เป็นสิว ตัวไหนมีประโยชน์ต่อผิวจริงๆ

Re: สอบภามก่อนสั่งชื้อค่ะ

โพสต์โดย sisaynoraseng » พฤหัสฯ. เม.ย. 11, 2019 9:26 pm

+ คืออยากทราบว่า สูต A สามารถประสมกับ Vaseline Healthy White Lightening(ตามรูป) และ สูต B สามารถประสมกับ Vaseline Healthy White Lightening(ตามรูป) ได้ไหมค่ะ ?
จุดประสงคือต้องการได้ครีมประลิมานมากขื้น และ คงประสิดทิพาบเดีมตามสูต A และ สูต Bค่ะ , หลื ท่าน Staff มีคำแนะนำอย่างไร รบกวนแนะนำด้วยนะค่ะ
สูต A :
1. Hyaluronic Acid Elastomer 2%
2. HyaCoat 0.5%
3. GlucoBright 4%
4.Safe-B3™ (Vitamin B3, Niacinamide, Switzerland) 4%
5.Yeast Radiance™ 2.5%
6.shea butter water 5%
7.Pro Polymer 1%
8. Mild Preserved Eco™ (Preservative-Free) 1%
9.น้ำกลั่น 80%
สูต B :
1. น้ำกลั่น 76%
2. Safe-B3 5%
3. GlucoBright 4%
4. Alpha Arbutin 1.5%
5. Active Resveratrol 5%
6. Satin Cream Maker 1%
7. Shea Butter (Ultra Soft) 5%
8. Cyclomethicone / Cyclopentasiloxane (Low-Odor) 1%
9. Mild Preserved Eco™ (Preservative-Free) 1%

ขอบคุณค่ะ
ไฟล์แนป
Vaseline-200ml_400x470 (2)_tcm2887-1149803.png
Vaseline-200ml_400x470 (2)_tcm2887-1149803.png (100.03 KiB) เปิดดู 3185 ครั้ง
sisaynoraseng
 
โพสต์: 32 (คลิ๊กเพื่อดู)
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ม.ค. 09, 2019 11:26 pm
Has thanked: 1 ครั้ง
ได้รับคำขอบคุณ: 0 ครั้ง
จำนวนสูตร: 0

Re: สอบภามก่อนสั่งชื้อค่ะ

โพสต์โดย staff » อาทิตย์ เม.ย. 14, 2019 1:14 am

สวัสดีคะ

รบกวนท่านสมาชิกแจ้งองค์ประกอบของ ผลิตภัณฑ์ Vaseline ดังกล่าว โดยดูจาก Ingredient list บนฉลาก ด้วยคะ
Staff - MySkinRecipes
staff
 
โพสต์: 17110 (คลิ๊กเพื่อดู)
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ มี.ค. 19, 2012 9:38 pm
จำนวนสูตร: 0

Re: Re: สอบภามก่อนสั่งชื้อค่ะ

โพสต์โดย sisaynoraseng » พุธ เม.ย. 17, 2019 2:27 pm

สวัสดีคะ
- WATER
- ISOPROPYL MYRISTATE
- STERIC ACID
- Glyceryl stearate
- mineral oil
- ETHYLHEXYL METHOXYCINNAMATE
- Tocopheryl Acetate
- Sodium Ascorbyl Phosphate
- TITANIUM DIOXIDE
- Dimethicone
- Triethanolamine
- Carbomer
- PERFUME
- CETYLALCOHOL
- Disodium EDTA
- HYDRATED Silica
- ALUMINUM HYDROXIDE
- ALGINIC ACID
- Phenoxyethanol
- METHYLPARABEN
- PROPYLPARABEN
- BHT

รบกวนช่วยวิเคาะไห้ด้วยนะค่ะ

ขอบคุณคะ
sisaynoraseng
 
โพสต์: 32 (คลิ๊กเพื่อดู)
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ม.ค. 09, 2019 11:26 pm
Has thanked: 1 ครั้ง
ได้รับคำขอบคุณ: 0 ครั้ง
จำนวนสูตร: 0

Re: สอบภามก่อนสั่งชื้อค่ะ

โพสต์โดย timsum_123 » พุธ ก.ย. 18, 2019 11:31 am

1.Shea Butter (Ultra Soft) มีระบุว่าอายุคือ หลังจากเปิดใช้ 180 วัน ถ้านำไปผสมแล้วจะมีผลกับอายุของผลิตภัณหรือไม่คะ

2.Apricot Kernel Oil (Refined)มีระบุว่าอายุคือ หลังจากเปิดใช้ 180 วัน ถ้านำไปผสมแล้วจะมีผลกับอายุของผลิตภัณหรือไม่คะ

ขอบคุณค่ะ
timsum_123
 
โพสต์: 9 (คลิ๊กเพื่อดู)
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 18, 2019 6:39 pm
Has thanked: 0 ครั้ง
ได้รับคำขอบคุณ: 0 ครั้ง
จำนวนสูตร: 0

Re: Re: สอบภามก่อนสั่งชื้อค่ะ

โพสต์โดย modtanoy21 » พุธ ก.ย. 18, 2019 12:03 pm

ขออนุญาติแสดงความคิดเห็น ตามที่ทีมงานเคยให้ข้อมูลไว้นะคะ

อายุของส่วนผสม และสูตรที่ทำการผสมเสร็จ แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
ก. อายุของ “ความคงตัว” (stability)
ข. อายุของ “การปลอดเชื้อ” หรือ “การควบคุมเชื้อของสูตร”

อายุของความคงตัว หมายถึง ระยะเวลาที่เครื่องสำอาง หรือส่วนผสมนั้นๆ ยังมีประสิทธิภาพอยู่ หรือมีความคงตัวดีอยู่ โดยปกติแล้ว ส่วนผสมต่างๆในสูตร จะค่อยๆเสื่อมคุณภาพไปทีละเล็กน้อย ในความเร็วที่แตกต่างกันไป ด้วยกระบวนการ oxidation (หรือการเกิดอนุมูลอิสระ) โดยส่วนผสมในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ (หรือสาร active ที่ให้ผลใดๆต่อผิว) เมื่อประสิทธิภาพลดลง ก็จะไม่สามารถให้ประโยชน์ต่อผิวได้มากเท่าเดิม ในขณะที่ ส่วนผสมในกลุ่มที่ทำหน้าที่อื่นๆ เช่น ให้ความข้นหนืดต่อเนื้อสูตร ก็อาจจะเกิดลักษณะเสียความข้นหนืด ส่วนผสมที่ทำหน้าที่ประสานน้ำ-น้ำมันของสูตร เมื่อเสื่อมประสิทธิภาพ ก็อาจจะเกิดการแยกชั้นของสูตรได้
อายุของการปลอดเชื้อ หมายถึง ระยะเวลาที่เครื่องสำอางปลอดจากการเจริญเติบโตของเชื้อโรค โดยหากเมื่อเชื้อโรคเจริญเติบโตและก่อตัวในผลิตภัณฑ์ ก็มักจะถูกเรียกว่า “เสีย” หรือ เน่าบูด เหมือนอาหาร ซึ่งสังเกตุได้ง่ายด้วยสายตา เหมือนอาหารเน่าบูด

2 อายุที่กล่าวมานี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆต่อกัน แต่รวมแล้วมีผลต่ออายุจริงของสูตร เนื่องจากหากหมดประสิทธิภาพแล้ว แต่ยังไม่ได้เกิดการเน่าบูดแต่อย่างใด ดูเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังน่าใช้เหมือนเดิมทุกประการ ก็ไม่ได้เกิดประโยชน์ในการใช้งาน ในขณะที่ หากส่วนผสมต่างๆยังมีประสิทธิภาพอยู่ครบถ้วน แต่สูตรเกิดการเน่าบูด มีเชื้อโรคก่อตัวในเนื้อสูตร ก็ไม่สามารถนำมาใช้บนผิวอย่างปลอดภัยได้ต่อไป

อายุของความคงตัว มักจะต้องวัดด้วยวิธีทางแลปหลากหลาย ตัวอย่างเช่น หากต้องการวัดความคงตัวของสารประสานน้ำ-น้ำมัน จะใช้เครื่อง Centrifuge ในการเหวี่ยงเพื่อเร่งให้เกิดการแยกชั้นของสูตร หรือ หากต้องการวัดความคงตัวของส่วนผสม active บำรุงผิว จะต้องทำ HPLC เพื่อวัดว่าสาร active นั้นๆ คงเหลืออยู่ในสูตรปริมาณเท่าใด เมื่อเวลาผ่านไปตามที่กำหนดปัจจัยต่างๆมากมายที่มีผลต่ออายุของความคงตัวนี้ เช่น แสง อากาศ อุณหภูมิ ปัจจุบันเหล่านี้ ช่วยเร่งหรือชะลอ การเสื่อมความคงตัวนี้

ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อายุของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จ จะถูกกำหนดไว้ที่ 2ปี นับจากวันผลิตเสมอ แม้ว่าผู้ผลิตจำนวนไม่ได้ ไม่ได้ทำการทดสอบจริง ว่าผลิตภัณฑ์จะมีอายุถึง 2 ปีจริง ในทุกด้านหรือไม่ เพราะ อ.ย. ประเทศต่างๆโลก ยังไม่ได้มีการบังคับให้ทำการทดสอบลักษณะนี้ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากอุตสาหกรรมยา ที่จะต้องมีการทดสอบและกำหนดอายุตาจริง ตามผลที่ทดสอบได้

(ย่อหน้าล่างนี้ กรุณาแยกแยะคำว่า ผู้ผลิตส่วนผสม และผู้ผลิตเครื่องสำอางให้ดี เนื่องจากเป็นคนละส่วนกัน)

พบคำถามบ่อยครั้งว่า วันหมดอายุของส่วนผสมที่นำมาผสมเครื่องสำอาง มีผลอย่างไรต่อ อายุของเครื่องสำอางที่ทำการผสมเสร็จ ในความเป็นจริงแล้ว อายุของส่วนผสมนั้นมีผลต่ออายุของประสิทธิภาพของเครื่องสำอางอย่างแน่นอน แต่เนื่องจากธรรมเนียมปฎิบัติของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง คือ ผู้ผลิตส่วนผสม มักจะกำหนดอายุของส่วนผสมนั้นๆ ตามระยะเวลาการรับประกันคุณภาพ (หรือรับประกันความคงตัว) ของส่วนผสมนั้นๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นวันสิ้นประสิทธิภาพของส่วนผสม (หมดอายุรับประกัน ไม่ได้หมายถึง ส่วนผสมจะสิ้นคุณภาพ) อีกทั้งมีผู้ผลิตจำนวนไม่น้อย ไม่ได้กำหนดวันหมดอายุจริง แต่กำหนดเป็นวันทดสอบซ้ำ (retest date) ซึ่งหมายถึง เมื่อถึงวันดังกล่าว เช่น 2ปี หลังจากวันที่ผลิตครั้งแรก ให้ทำการ retest ใหม่ทุกช่วงเวลาที่กำหนด เช่นทุกๆ1ปี ว่า ส่วนผสมดังกล่าวยังอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ หากปกติ ก็จะสามารถนำไปใช้ต่อได้ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงวัน retest ใหม่ จึงทดสอบอีกครั้ง ผู้ผลิตเครื่องสำอาง จึงกำหนดวันหมดอายุของเครื่องสำอางที่ผลิตมาจากส่วนผสมเหล่านี้อย่างอิสระ โดยไม่ได้อิงตามวันหมดอายุของส่วนผสม โดยในวันที่ผลิตเครื่องสำอาง ผู้ผลิตเครื่องสำอางจะตรวจส่วนผสม ว่าอยู่ในสภาพปกติ เพียงเท่านั้น

ขอบคุณค่ะ
ข้อความหรือคำตอบนี้ได้รับคำขอบคุณจาก: staff
จากคำขอบคุณที่ได้รับจากสมาชิกท่านอื่นๆ
modtanoy21
 
โพสต์: 265 (คลิ๊กเพื่อดู)
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ มี.ค. 12, 2018 11:41 am
Has thanked: 1 ครั้ง
ได้รับคำขอบคุณ: 169 ครั้ง
จำนวนสูตร: 0


ย้อนกลับไปยัง วิเคราะห์เครื่องสำอางค์